กลอนสุภาพ
กลอนสุภาพ มีหลายชนิด มีชื่อเรียกต่างๆกัน ถ้าเรียกชื่อตามจำนวนคำในวรรคก็มี เช่น กลอน ๖ กลอน ๗ กลอน ๘ กลอน ๘ เป็นกลอนสุภาพที่ได้รับความนิยมแต่งกันโดยทั่วไป ผู้ที่พัฒนากลอน ๘ ให้เป็นที่นิยมแต่งของกวีในสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน คือ พระสุนทรโวหาร หรือ สุนทรภู่
คำที่ควรรู้ในการแต่งบทร้อยกรอง
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
(พระอภัยมณี)
๒. บาท เป็นส่วนหนึ่งของบท กลอนสุภาพ ๑ บาท มี ๒ วรรค ดังนี้
ฝ่ายขุนช้างหมางจิตให้คิดแค้น ลูกขุนแผนมั่นคงไม่สงสัย
( วรรคที่ ๑ ) ( วรรคที่ ๒ )
๓. วรรค คือ จำนวนคำ ๑ กลุ่ม ที่คำประพันธ์แต่ละประเภทกำหนดไว้ กลอนสุภาพ ๑ วรรค จะมีจำนวน คำ ๗ – ๙ คำ เช่น ถึงบางพูด พูดดี เป็นศรีศักดิ์ ( ๑ วรรค ในที่นี้มี ๘ คำ )
๔. คำ คำที่ใช้ในฉันทลักษณ์ มีความหมายถึงเสียงที่พูดออกมา การนับคำทางฉันทลักษณ์ จึงต่างจากการนับคำทางไวยากรณ์

มนุษย์ นับเป็น ๑ คำ เนื่องจากมี ๑ ความหมาย
กำหนด นับเป็น ๑ คำ เนื่องจากมี ๑ ความหมาย
เถาวัลย์ นับเป็น ๑ คำ เนื่องจากมี ๑ ความหมาย
เมื่อนำคำเหล่านี้ไปใช้ในการแต่งบทร้อยกรอง จะเปลี่ยนเป็นการนับคำทางฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นข้อบังคับของการแต่งบทร้อยกรองที่เกี่ยวกับจำนวนคำ เช่น
แล้วสอนว่า อย่าไว้ใจมนุษย์ (คำว่า มนุษย์ นับเป็น ๒ คำ อ่านว่า มะ – นุด เพื่อให้ครบ ๘ คำ)
มันแสนสุด ลึกล้ำเหลือกำหนด (คำว่า กำหนด นับเป็น ๒ คำ)
ถึงเถาวัลย์ พันเกี่ยว ที่เลี้ยวลด (คำว่า เถาวัลย์ นับเป็น ๒ คำ)
๕. สัมผัส คือ ลักษณะบังคับให้ใช้คำคล้องจองกัน เป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดในร้อยกรองทุกประเภท
สัมผัสที่นิยมในภาษาไทยมี ๒ ชนิด คือ
๑. สัมผัสสระ ได้แก่ คำที่มีเสียงสระพ้องกันตามมาตรา เช่น
ดี – ปี – มี – สี่ // มา – นา – ยา // โต – โค – โซ่
ถ้าเป็นคำที่มีตัวสะกดก็ต้องเป็นตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่เดียวกัน เช่น
บาน – มาร – คลาน – ผลาญ // เรียว – เพรียว – เสียว – เปรี้ยว // แล้ว – แคล้ว – แถว – แมว
๒. สัมผัสอักษร ได้แก่ คำที่ใช้พยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน อาจเป็นตัวอักษรที่เป็นพยัญชนะ
เดียวกันหรือพยัญชนะที่มีเสียงสูงต่ำเข้าคู่กันได้หรือพยัญชนะควบชุดเดียวกันก็ได้ เช่น
สาย–ซาก–สุข– ศรี//กลับ – กลาย – ใกล้– กลัว
ประเภทของสัมผัส สัมผัสทั้ง ๒ ชนิดดังกล่าว ยังแบ่งเป็น ๒ ประเภทอีก คือ
๑. สัมผัสนอก เป็นสัมผัสบังคับ ได้แก่ คำสัมผัสที่ส่งและรับกันนอกวรรค เช่น ในกลอน ๘ คำ
สุดท้ายของวรรคแรกจะสัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคต่อไป สัมผัสนอก ใช้เฉพาะสัมผัสสระเท่านั้น เช่น อนาถนิ่งอิงเขนยคะนึงหวน จนจวบจวนแจ่มแจ้งปัจจุสมัย
๒. สัมผัสใน เป็นสัมผัสไม่บังคับ มีคำสัมผัสคล้องจองกันอยู่ภายในวรรคเดียวกัน อาจเป็นสัมผัส สระ หรือ สัมผัสอักษรก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม และความพอใจของผู้ประพันธ์ เช่น
แล้วย่อง เหยียบ เลียบ เนิน ลงเดินล่าง ตามแถวทางหิมวาพฤกษาไสว
คำว่า ย่อง และ เหยียบ เป็นการสัมผัสอักษร ย

เนิน และ เดิน เป็นการสัมผัสสระ
๖. เสียงวรรณยุกต์ ผู้ที่เริ่มฝึกหัดแต่งบทร้อยกรอง ควรมีความรู้ เกี่ยวกับเสียงวรรณยุกต์ เนื่องจากเสียงวรรณยุกต์ที่เหมาะสม จะช่วยให้บทร้อยกรองมีความไพเราะ
เสียงวรรณยุกต์มี ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และ เสียงจัตวา
ในการแต่งบทร้อยกรอง ผู้แต่งจึงต้องคำนึงถึง “ เสียง ” เป็นสำคัญ