วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การแต่งกลอน๘

การแต่งกลอน ๘ 

กลอนสุภาพที่นิยมแต่งกัน คือ กลอน ๘ มีลักษณะบังคับ ดังนี้
๑. บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๗ – ๙ คำ ที่นิยมกันคือ วรรคละ ๘ คำ วรรคที่ ๑ เรียกว่า วรรคสดับ วรรคที่ ๒ เรียกว่า วรรครับ วรรคที่ ๓ เรียกว่า วรรครอง และ วรรคที่ ๔ เรียกว่า วรรคส่ง
๒. สัมผัสนอก ซึ่งเป็นสัมผัสสระบังคับ ดังนี้
การนำเสียงวรรณยุกต์มาใช้ในการแต่งกลอน ๘ การแต่งกลอนให้ไพเราะจะต้องคำนึงถึงเสียงวรรณยุกต์ ซึ่งความไพเราะจะอยู่ที่เสียงท้ายวรรคของแต่ละวรรค โดยมีข้อสังเกต และนำไปใช้ ดังนี้
       คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ (วรรคสดับ) ใช้ได้ทุกเสียงแต่ไม่นิยมเสียงสามัญ
       คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ (วรรครับ) นิยมใช้เสียงเอก โท หรือ จัตวา
       คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ และ๔(วรรครอง และวรรคส่ง)ใช้เสียงสามัญ หรือเสียงตรี(ใช้เสียงสามัญ  จะฟังได้ดีกว่า)


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

      ในการแต่งคำประพันธ์ร้อยกรองทุกชนิด นอกจากผู้แต่งต้องเข้าใจลักษณะบังคับดังกล่าวแล้ว         จะต้องรู้จักเลือกใช้คำให้หลากหลายเพื่อให้เกิดความไพเราะและช่วยในการรับส่ง สัมผัส หากใช้คำหนึ่งแล้วไม่อาจสัมผัสกันได้ก็ใช้อีกคำหนึ่ง ซึ่งมีความหมายเดียวกัน เช่น

ดอกไม้ - ผกา บุปผา มาลี มาลา
ผู้หญิง - นงคราญ นงราม กัลยา นารี บังอร
ป่า - ดงไพร พนา พนาวัน ดงดอน
โกรธ - ขัดเคือง โมโห โกรธา กริ้ว
นก - สกุณา ปักษา สกุณี

            กลอนสุภาพแปดคำประจำบ่อน             อ่านสามตอนทุกวรรคประจักษ์แถลง
      ตอนต้นสาม ตอนสอง สองแสดง                 ตอนสามแจ้ง สามคำ ครบจำนวน
      กำหนดบทระยะกะสัมผัส                             ให้ฟาดฟัด ซัดความ ตามกระสวน
      วางจังหวะ กะทำนอง ต้องกระบวน              จึงจะชวน ฟังเสนาะ เพราะจับใจ
                  ( หลวงธรรมาภิมณฑ์ , ๒๕๑๔ : ๕๙ )




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น