วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะบังคับของกลอนสุภาพ

ลักษณะบังคับของกลอนสุภาพ

        ลักษณะบังคับของกลอนสุภาพ ซึ่งจะขอยกตัวอย่าง กลอนสุภาพแต่ละชนิด คือ กลอน ๖ กลอน๗ กลอน๘ ดังนี้

     กลอน๖


         ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอนหก พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลายนอกนั้นก็แทรกอยู่ในกลอนบทละคร แต่ที่ใช้แต่ตลอดเรื่องเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ กนกนคร ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.)
กลอนหก บทหนึ่งประกอบด้วย ๒ บาท บาทละ ๒ วรรค วรรคละ ๖ คำ
สัมผัสนอก ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สองของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป        
สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สองกับคำที่สาม หรือระหว่างคำที่สี่กับคำที่ห้าของแต่ละวรรค

กฎสัมผัสบังคับของกลอนหก
      พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๑ บังคับให้สัมผัสกับพยางค์ที่ ๒ ของวรรคที่ ๒ (บางครั้งให้สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๔ ของวรรคที่ ๒ ก็ได้)
      พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ บังคับให้สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓
      พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓ บังัคบให้สัมผัสกับพยางค์ที่ ๒ ของวรรคที่ ๔ (บางครั้งให้สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๔ ก็ได้)
      พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๔ บังคับให้สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป ซึ่งเรียกว่า การสัมผัสระหว่างบทการอ่านกลอนหก กลอนหก แบ่งวรรคการอ่านเป็น ๒/๒/๒

 

  กลอน ๗

                   เป็นบทประพันธ์ที่กำหนดให้มีวรรคละ ๗ คำ บางวรรคอาจมี ๘ คำได้ เพราะเป็นคำผสม การส่งสัมผัส คำสุดท้ายของกลอนสดับส่งไปยังคำที่ ๒ หรือที่ ๓ ของกลอนรับ คำสุดท้ายของกลอนรับส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของกลอนรอง คำท้ายของกลอนรอง ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๒ หรือที่ ๓ ของกลอนส่ง คำสุดท้ายของกลอนส่ง ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของกลอนรับในบทต่อไป มีแผนผังและตัวอย่างดังนี้

      กลอน๘

                  กลอนแปดเป็น คำประพันธ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมกันทั่วไป เพราะเป็นร้อยกรองชนิดที่มีความเรียบเรียงง่ายต่อการสื่อความหมาย และสามารถสื่อได้อย่างไพเราะ ซึ่งกลอนแปดมีการกำหนดพยางค์และสัมผัส มีหลายชนิดแต่ที่นิยมคือกลอนสุภาพ





2 ความคิดเห็น: